วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคไต (Nephropathy)

โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้
  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก
  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

สาเหตุ

  • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
  • เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
  • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
  • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์

อาการ

  1. อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดกลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
  2. อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
  4. ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบ

วิธีรักษา

อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ
  1. การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
  2. การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่น การรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
  3. การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
ยาที่มีผลชลอไตเสื่อมได้แก่ ยากลุ่ม ACEI Inhibitors(Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors) ซึ่งได้แก่ยา Enalapril Captopril Lisinopril และramipril
  1. การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น