วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โรคหัวใจ



 

          หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ"

          ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
โรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจคืออะไร

คำถามที่เกี่ยวกับการเป็นโรคหัวใจหลายประเด็นไม่สามารถหาคำตอบได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจบ่งชี้ว่าน่าจะมีส่วนในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรคหัวใจได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันก็คือนิสัยหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะบุคคลที่อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 
(1)ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้ และ
 (2) ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ควรตระหนักว่าท่านอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอายุ เพศ หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวได้ แต่ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงหรือชะลอโรคด้วยการตั้งใจควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ท่านกำหนดเองได้ ท่านก็จะสามารถป้องกันปัญหาโรคหัวใจที่จะเกิดขึ้นอนาคตได้


 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

          
คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ

           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ

           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน

           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้

           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 
          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
 เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
                
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

โรคหัวใจ

 
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
         
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด

 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ

           สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
               
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

           ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

           รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
               
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

ผู้ป่วยโปลิโอที่ได้รับรายงานใน ค.ศ. 2015

ผู้ป่วยโปลิโอที่ได้รับรายงานใน ค.ศ. 2015

ผู้ป่วยโปลิโอที่ได้รับรายงานใน ค.ศ. 2015
Polio worldwide 2013.svg
ประเทศผู้ป่วยจากธรรมชาติผู้ป่วยจากวัคซีนที่หมุนเวียนสถานะการแพร่เชื้อ
โซมาเลีย1891จากนอกประเทศ
ปากีสถาน9144ประจำถิ่น
ไนจีเรีย533ประจำถิ่น
ซีเรีย160จากนอกประเทศ
เคนยา140จากนอกประเทศ
อัฟกานิสถาน133จากนอกประเทศ 12 คน
ประจำถิ่น 1 คน
เอธิโอเปีย90ประจำถิ่น
แคเมอรูน44ประจำถิ่น
ชาด04เฉพาะจากวัคซีนที่หมุนเวียน
ไนเจอร์01เฉพาะจากวัคซีนที่หมุนเวียน
รวม38560

โรคโปลิโอ poliomyelitis

โรคโปลิโอ poliomyelitis


โรคโปลิโอ (อังกฤษ: poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า poliós (πολιός) หมายถึง สีเทา, myelós (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ

การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง

โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1840 โดย Jakob Heine ส่วนไวรัสโปลิโอซึ่งเป็นสาเหตุของโรคถูกพ้นพบเมื่อ ค.ศ. 1908 โดย Karl Landsteiner แม้จะไม่มีบันทึกว่ามีการระบาดของโปลิโอก่อนปลายศตวรรษที่ 19 แต่โปลิโอก็เป็นโรคในเด็กที่ก่อปัญหาสาธารณสุขมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การระบาดของโปลิโอทำให้มีผู้พิการหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ โปลิโอระบาดในพื้นที่เล็กๆ มานับพันปี ก่อนที่จะมีการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 ในยุโรป และต่อมาจึงระบาดไปยังสหรัฐอเมริกา

ช่วง ค.ศ. 1910 จำนวนผู้ป่วยโปลิโอเพิ่มสูงขึ้นมาก มีการระบาดบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่ในเขตชุมชนช่วงอากาศร้อน การระบาดเหล่านี้ทำให้มีผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้นหลายพันคน จึงมีการกระตุ้นให้เกิด "การแข่งขันครั้งใหญ่" (The Great Race) เพื่อผลิตวัคซีนขึ้นมาให้ได้ จนสำเร็จในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วัคซีนโปลิโอที่ผลิตขึ้นมานี้ทำให้จำนวนผู้ป่วยโปลิโอทั่วโลกลดลงจากหลายแสนคนต่อปีเหลือไม่ถึงหนึ่งพันคนต่อปีในปัจจุบัน Rotary Internation องค์การอนามัยโลก และ UNICEF กำลังดำเนินการเพื่อให้คนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือกำจัดโปลิโอให้หมดไปจากโลก

การระบาด

แม้ว่าปัจจุบันโรคโปลิโอจะพบน้อยในโลกตะวันตก แต่โรคโปลิโอยังพบประจำถิ่นในเอเชียใต้และทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศปากีสถานและไนจีเรียตามลำดับ นับแต่มีการใช้วัคซีนโปลิโอไวรัสอย่างกว้างขวางในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 อุบัติการณ์ของโรคโปลิโอลดลงอย่างมากในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ

ความพยายามในการกำจัดโปลิโอทั่วโลกเริ่มต้นใน ค.ศ. 1988 โดยมีองค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟและมูลนิธิโรตารีเป็นผู้นำ ความพยายามเหล่านี้ลดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยต่อปีลง 99% จากผู้ป่วยที่ประเมิน 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือเพียง 483 คนใน ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากปีนั้น จำนวนผู้ป่วยยังคงที่อยู่ที่ระดับราว 1,000 คนต่อปี (1,606 คนใน ค.ศ. 2009) ใน ค.ศ. 2012 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 223 คน[16] โปลิโอเป็นหนึ่งในสองโรคที่เป็นหัวข้อโครงการกำจัดทั่วโลกในปัจจุบัน อีกโรคหนึ่งคือ โรคพยาธิกินี จวบจนปัจจุบัน โรคสองชนิดที่ถูกมนุษย์กำจัดไปอย่างสมบูรณ์คือ โรคฝีดาษ ซึ่งหมดไปใน ค.ศ. 1979 และโรครินเดอร์เปสต์ ใน ค.ศ. 2010

ปัจจุบันหลายภูมิภาคในโลกได้รับการประกาศแล้วว่าปลอดโรคโปลิโอ ทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใน ค.ศ. 1994 ใน ค.ศ. 2000 มีการประกาศว่าโปลิโอถูกกำจัดอย่างเป็นทางการในประเทศแปซิฟิกตะวันตก 37 ประเทศ รวมถึงประเทศจีนและออสเตรเลีย ทวีปยุโรปได้รับการประกาศว่าปลอดโปลิโอใน ค.ศ. 2002 ใน ค.ศ. 2013 โปลิโอยังประจำถิ่นในสามประเทศเท่านั้น คือ ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน แม้ว่าจะยังก่อโรคระบาดทั่วในประเทศใกล้เคียงอื่นได้เนื่องจากการแพร่เชื้อแบบซ่อนหรือกลับมามีอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น มีการยืนยันว่ามีการระบาดทั่วในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 แม้ว่าโรคโปลิโอในประเทศจีนจะถูกกำจัดหมดไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน โดยสายพันธุ์โปลิโอที่ก่อโรคนั้นเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีรายงานผู้ป่วยการติดเชื้อโรคโปลิโอจากธรรมชาติในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011 และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ประเทศอินเดียถูกนำออกจากรายการประเทศซึ่งโปลิโอประจำถิ่นขององค์การอนามัยโลก

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยสิบเอ็ดประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทยและติมอร์ตะวันออก

การจำแนกประเภท

"โรคโปลิโอ" (poliomyelitis) เป็นคำที่ใช้ระบุถึงโรคที่เกิดจากไวรัสโปลิโอชนิดใดชนิดหนึ่งจาก 3 ซีโรทัยป์ มีการบรรยายแบบแผนของการติดเชื้อโปลิโอแบบทั่วไปเอาไว้สองรูปแบบ ได้แก่ โรคที่เป็นเล็กน้อย ซึ่งไม่ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง แบบนี้บางครั้งเรียกว่า abortive poliomyelitis และโรคที่เป็นมาก ลุกลามเข้าถึงระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยอาจมีอาการอัมพาตหรือไม่มีก็ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเป็นปกติส่วนใหญ่เมื่อติดเชื้อโปลิโอจะไม่แสดงอาการ หรืออาจทำให้เกิดอาการเล็กๆ น้อยๆ ได้ เช่น แสดงอาการเป็นการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนบน (เช่น มีไข้ เจ็บคอ) มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องผูก หรืออาจพบเป็นท้องร่วงได้ แต่น้อย) หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

กลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (อังกฤษDown syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่ที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอากาดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า แฝดสามของโครโมโซม (trisomy) 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (translocation) คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคน ๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า โมเซอิค (mosaic)
ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งขณะตั้งครรภ์ผ่านการคัดกรองขณะตั้งครรภ์และตามด้วยการตรวจวินิจฉัยยืนยัน หรือวินิจฉัยได้หลังคลอดผ่านการตรวจร่างกายและการตรวจพันธุกรรม ในปัจจุบันเมื่อมีการตรวจคัดกรองแพร่หลาย ผู้ตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งเลือกยุติการตั้งครรภ์เมื่อตรวจพบภาวะนี้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ควรได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเป็นระยะตลอดชีวิต
ผู้ป่วยสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ผ่านการศึกษาและการดูแลที่เหมาะสม หลายคนสามารถเข้าโรงเรียนและเรียนในชั้นเรียนปกติได้ บางรายอาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ บางรายจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย และจำนวนหนึ่งเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์วัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริการ้อยละ 20 ทำงานและมีรายได้ในระดับหนึ่ง แม้หลายคนจะจำเป็นต้องได้รับการจัดสถานที่ทำงานเป็นพิเศษ หลายรายจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและทางกฎหมาย อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ที่ 50-60 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม
กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์ โดยพบในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 1 ใน 1000 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 36,000 ราย ใน ค.ศ. 2013 (ลดลงจาก 43,000 ราย เมื่อ ค.ศ. 1990) ชื่อนี้ตั้งตาม จอห์น แลงดอน ดาวน์ แพทย์ชาวอังกฤษซึ่งได้บรรยายลักษณะของภาวะนี้เอาไว้เมื่อ ค.ศ. 1866 อย่างไรก็ดีรายละเอียดบางอย่างของภาวะนี้เคยได้รับการบรรยายไว้ก่อนแล้วเมื่อ ค.ศ. 1838 โดยJean-Étienne Dominique Esquirol และเมื่อ ค.ศ. 1844 โดย Édouard Séguin ในขณะที่สาเหตุทางพันธุกรรมของภาวะนี้ (การมีโครโมโซม 21 เกินมา) ได้รับการค้นพบโดยคณะนักวิจัยชาวฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1959

อาการและอาการแสดง

ภาพวาดแสดงลักษณะใบหน้าของทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์
An eight-year-old boy
An eight-year-old boy with Down syndrome
ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์แทบทุกคนจะมีความบกพร่องทั้งทางกายและทางสติปัญญา ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่มักมีสติปัญญาเทียบเท่าเด็กอายุ 8-9 ปี มีภูมิคุ้มกันไม่ดี และมีพัฒนาการล่าช้า นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคลมชัก มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไทรอยด์ และโรคทางจิตใจต่างๆ เป็นต้น
ลักษณะร้อยละลักษณะร้อยละ
สติปัญญาบกพร่อง99%ฟันผิดปกติ60%
การเจริญเติบโตด้อยกว่าปกติ90%หางตาชี้ขึ้น60%
ไส้เลื่อนสะดือ90%มือสั้น60%
ผิวหนังย่นที่หลังคอ80%คอสั้น60%
โทนกล้ามเนื้ออ่อน80%หยุดหายใจขณะหลับ60%
เพดานปากแคบ76%ปลายนิ้วก้อยเอียงเข้า57%
ศีรษะแบน75%ม่านตามีจุดสีขาว56%
เส้นเอ็นอ่อน ยืนหยุ่นง่าย75%เส้นลายมือตามขวางมีเส้นเดียว53%
ลิ้นใหญ่75%ลิ้นยื่น47%
ใบหูผิดปกติ]]70%หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด40%
จมูกแบน68%ตาเข~35%
นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้ห่าง68%อัณฑะไม่ลงถุง20%

ลักษณะทางกาย

ลักษณะเท้าของผู้ป่วย
ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์อาจมีลักษณะทางกายภาพบางส่วนหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้ คางเล็ก หางตาชี้ขึ้น กล้ามเนื้ออ่อน สันจมูกแบน เส้นลายมือตามขวางมีเส้นเดียว และลิ้นยื่น เนื่องจากมีลิ้นใหญ่และปากเล็ก ลักษณะของทางหายใจเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ โดยพบในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ประมาณครึ่งหนึ่ง ลักษณะอื่นที่พบได้บ่อยเช่น ใบหน้าแบนและกว้าง คอสั้น ข้อต่ออ่อน ยืดหยุ่น นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้ห่าง นิ้วสั้น ลายนิ้วมือผิดปกติ ผู้ป่วยร้อยละ 20 จะมีภาวะข้อต่อแอตแลนโตแอกเซียล (ข้อต่อกระดูกคอ) ไม่เสถียร เป็นความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บต่อไขสันหลังได้ร้อยละ 1-2 ผู้ป่วยหนึ่งในสามอาจมีข้อสะโพกหลุดได้โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ

พันธุศาสตร์

กลุ่มอาการดาวน์มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยมีจำนวนชุดของยีนบนโครโมโซมคู่ที่ 21 สามชุด แทนที่จะเป็นสองชุด ส่วนใหญ่เกิดกับพ่อแม่ที่มีพันธุกรรมเป็นปกติ พ่อแม่คู่ที่มีบุตรคนเป็นกลุ่มอาการดาวน์แล้วคนหนึ่งมีโอกาสที่จะมีบุตรคนอื่นเป็นกลุ่มอาการดาวน์อยู่ที่ 1% หากผลตรวจโครโมโซมของทั้งพ่อและแม่คู่นั้นออกมาเป็นปกติ
ข้อมูลบนโครโมโซมที่มีเกินมานั้นอาจเกิดขึ้นได้หลายวิธี สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด (คิดเป็น 92-95% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด) เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งแท่ง เรียกว่ามีแฝดสามของโครโมโซม 21 (trisomy 21)  ส่วนในผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่ง (1-2.5% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด) มีเซลล์บางเซลล์ในร่างกายเป็นปกติ ในขณะที่เซลล์บางเซลล์มีแฝดสามของโครโมโซม 21 ลักษณะเช่นนี้เรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์แบบโมเซอิก[ รูปแบบอื่น ๆ ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เช่น การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียนไอโซโครโมโซม (โครโมโซมมีแขนสองข้างเหมือนกัน) และโครโมโซมวงแหวน ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้มีองค์ประกอบของโครโมโซม 21 ที่เกินมา ทำให้เกิดโรค พบได้ใน 2.5% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ทั้งหมด

แฝดสามของโครโมโซม 21

แคริโอไทป์ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์แบบที่มีแฝดสามของโครโมโซม 21: สังเกตว่ามีโครโมโซม 21 จำนวน 3 แท่ง
แฝดสามของโครโมโซม 21 หรือ แคริโอไทป์แบบ 47,XX,+21 ในเพศหญิง และ 47,XY,+21 ในเพศชาย เกิดจากการที่โครโมโซม 21 ไม่แยกออกจากกันอย่างที่ควรจะเป็น ในขั้นตอนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (เซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิ) ทำให้เกิดเซลล์ไข่หรือเซลล์อสุจิที่มีจำนวนแท่งของโครโมโซม 21 เพิ่มขึ้นจากปกติ (เป็น 2 แท่ง แทนที่จะเป็น 1 แท่ง) ทำให้มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมดเป็น 24 แท่ง (แทนที่จะเป็น 23 แท่ง) เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนแท่งโครโมโซมผิดปกตินี้ ปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจึงมีโครโมโซม 47 แท่ง (แทนที่จะเป็น 46 แท่ง) โดยมีโครโมโซม 21 จำนวน 3 แท่ง (แทนที่จะเป็น 2 แท่ง) 88% ของการเกิดแฝดสามของโครโมโซม 21 เกิดจากการไม่แยกตัวของโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ของมารดา 8% จากบิดา และ 3% เกิดหลังจากที่เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิผสมกันแล้ว

การสับเปลี่ยน

องค์ประกอบของโครโมโซมที่ 21 ที่เกินมาจนทำให้เกิดกลุ่มอาการดาวน์นั้น 2-4% อาจเกิดจากการสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียนได้ ในกรณีนี้ แขนข้างยาวของโครโมโซม 21 นั้น ไปติดอยู่กับโครโมโซมอื่น ซึ่งมักเป็นโครโมโซม 14 หากบุคคลนี้เป็นเพศชายจะมีแคริโอไทป์เป็น 46XY,t(14q21q) ซึ่งอาจเป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ หรือมีอยู่ก่อนในบิดาหรือมารดาก็เป็นได้ บิดามารดาที่มีการสับเปลี่ยนเช่นนี้ส่วนใหญ่มีสุขภาพและระดับสติปัญญาเป็นปกติ อย่างไรก็ดี ในขั้นตอนการสร้างเซลล์อสุจิหรือเซลล์ไข่นั้น มีโอกาสที่จะเกิดเซลล์สืบพันธุ์ที่มีองค์ประกอบของโครโมโซม 21 เกินมาได้ ทำให้มารดาที่มีการสับเปลี่ยนเช่นนี้มีโอกาสให้กำเนิดทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์สูงถึง 15% และบิดาที่มีการสับเปลี่ยนเช่นนี้มีโอกาส 5% หรือน้อยกว่า ความเสี่ยงของการให้กำเนิดทารกที่มีกลุ่มอาการดาวน์ในกรณีเช่นนี้ไม่สัมพันธ์กับอายุของมารดา ทารกที่เกิดแม้ไม่มีกลุ่มอาการดาวน์แต่ก็อาจได้รับโครโมโซมที่มีการสับเปลี่ยนในลักษณะที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการมีทายาทเป็นกลุ่มอาการดาวน์ต่อไปได้ ในกรณีเช่นนี้บางคนเรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์ชนิดที่ถ่ายทอดในครอบครัว (familial)

การตรวจคัดกรอง

หญิงตั้งครรภ์อาจมีความจำเป็นต้องรับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง ระหว่างตั้งครรภ์ แนวทางการคัดกรองมาตรฐานหลายแนวทางสามารถตรวจพบกลุ่มอาการดาวน์ได้ มักมีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมพร้อมกับการตรวจทางพันธุกรรม เช่น การเจาะน้ำคร่ำ การตรวจชิ้นเนื้อรก (chorionic villus sampling, CVS) หรือการเก็บเลือดจากสายสะดือ (percutaneous umbilical cord blood sampling, PUBS) สำหรับคู่แต่งงานที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรที่มีกลุ่มอาการดาวน์มากกว่าคนทั่วไป หรือการตรวจครรภ์ตามปกติแสดงให้เห็นว่าอาจมีภาวะผิดปกติ ในสหรัฐอเมริกานั้นแนวทางเวชปฏิบัติของ ACOG (สภาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาอเมริกา) แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองทั้งแบบเจ็บตัวและไม่เจ็บตัวแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทุกอายุ อย่างไรก็ดี ประกันภัยฯ บางรูปแบบจะให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจแบบเจ็บตัวเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 34 ปี หรือผลการตรวจแบบไม่เจ็บตัวบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
การเจาะน้ำคร่ำและการตรวจชิ้นเนื้อรกนั้นถือเป็นการตรวจแบบเจ็บตัว ต้องมีการใส่เครื่องมือเข้าไปในหรือใกล้มดลูก จึงมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือการเกิดอันตรายต่อทารก ถือกันว่าการเจาะน้ำคร่ำมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร 0.5% และการตรวจชิ้นเนื้อรกมีความเสี่ยง 1% นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจคัดกรองที่ไม่ทำให้เจ็บตัวอีกหลายอย่างที่ใช้ตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ในทารกในครรภ์ได้ ส่วนใหญ่ทำในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 หรือต้นไตรมาสที่ 2 ด้วยความเป็นการตรวจคัดกรองนี้เองทำให้การตรวจแต่ละวิธีให้ผลตรวจเป็นผลบวกลวงจำนวนไม่น้อย กล่าวคือ ตรวจพบว่าทารกอาจเป็นกลุ่มอาการดาวน์ แต่ที่จริงแล้วไม่ได้เป็น

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคไต (Nephropathy)

โรคไต

โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้
  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก
  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

สาเหตุ

  • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
  • เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
  • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
  • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์

อาการ

  1. อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดกลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
  2. อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
  4. ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบ

วิธีรักษา

อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ
  1. การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
  2. การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่น การรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
  3. การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
ยาที่มีผลชลอไตเสื่อมได้แก่ ยากลุ่ม ACEI Inhibitors(Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors) ซึ่งได้แก่ยา Enalapril Captopril Lisinopril และramipril
  1. การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคฉี่หนู leptospirosis

โรคฉี่หนู

ไข้ฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (อังกฤษleptospirosis) เป็นโรครับจากสัตว์ชนิดหนึ่ง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

สาเหตุโรคฉี่หนู

โรคเล็ปโตสไปโรซิส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans) ซึ่งมีความหลากหลายทางซีโรวิทยามากกว่า 200 ซีโรวาร์ (serovars) เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในท่อหลอดไตของสัตว์ได้หลายชนิด โดยมีหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด บางซีโรวาร์มีความจำเพาะกับสัตว์บางชนิด เชื้อสามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือนหลังจากถูกขับออกทางปัสสาวะจากสัตว์ที่มีเชื้อ สัตว์อื่นๆที่เป็นแหล่งรังโรค ได้แก่ สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณ โดยที่สัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์ จากการสำรวจเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พบภูมิคุ้มกันใน ควาย 31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%

อาการและอาการแสดงโรคฉี่หนู

อาการและอาการแสดงของโรคเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีได้ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต กว่า 90% ของผู้มีอาการจะมีอาการเล็กน้อยและมักเป็นแบบไม่เหลือง ส่วนเล็ปโตสไปโรซิสที่มีอาการรุนแรงนั้น พบได้ 5-10% ของผู้ติดเชื้อ
โรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis) แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ระยะนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งในโรคเล็ปโตสไปโรซิสจะมีลักษณะเฉพาะคือ ปวดบริเวณน่อง หลัง และหน้าท้อง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าหรือหลังเบ้าตา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด อาการแสดงที่อาจตรวจพบ ได้แก่ เยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต อาจพบอาการดีซ่านได้เล็กน้อย อาการในระยะนี้จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงที่ไม่มีอาการจะนาน 1-3 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สอง
ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ระยะนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการและอาการแสดงมีความจำเพาะและความรุนแรงน้อยกว่าในระยะแรก ลักษณะที่สำคัญของโรคในระยะนี้คือ กว่า 15% ของผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ (aseptic meningitis) ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ มักเกิดตามหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี
โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง (severe leptospirosis)
โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง หรือกลุ่มอาการเวล (Weil's Syndrome) กลุ่มอาการนี้มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 5-15% พบได้เป็นพิเศษในการติดเชื้อในซีโรวาร์ อิกเทอโรฮีมอราเจียอี/โคเปนเฮเกไน (icterohaemorrhagiae/copenhageni) อาการในระยะเริ่มแรกไม่ต่างจากโรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง แต่ไม่มีลักษณะที่แบ่งออกเป็นสองระยะชัดเจน มักแสดงอาการรุนแรงใน 4-9 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประกอบด้วย
  • อาการดีซ่าน ที่พบในกลุ่มอาการเวล จะมีลักษณะเหลืองมากจนแทบเป็นสีส้มเมื่อสังเกตทางผิวหนัง มักพบตับโตร่วมกับกดเจ็บ ประมาณ 20% ของผู้ติดเชื้อมีอาการม้ามโตร่วมด้วย มีไม่มากนักที่เสียชีวิตจากภาวะตับวาย
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • อาการทางปอด เช่น ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว
  • ความผิดปกติทางระบบการแข็งตัวของเลือด มีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อย เช่น เลือดกำเดา จ้ำเลือดตามผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น
  • อาการอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อลายสลายตัว เม็ดเลือดแดงแตก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ เป็นต้น

การเกิดโรคโรคฉี่หนู

โรคเล็ปโตสไปโรซิส ติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ติดต่อกันโดยการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น
  • การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
  • การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือ ของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
  • เข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก
  • ไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน
  • ไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ
ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 1-2 สัปดาห์แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ แบ่งเป็นระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ซึ่งจะเริ่มแสดงอาการและส่วนใหญ่จะหายไปเองใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอีก 1-3 วันจะเข้าสู่ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ผู้ป่วยบางส่วนจะแสดงอาการอีกครั้ง ประมาณ 5-10% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการของโรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง
โรคเล็ปโตสไปโรซิสแพร่กระจายและเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงปลายฤดูฝน พบบ่อยในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เพราะช่วงนี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในธรรมชาติ พบโรคนี้ได้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม อาจรวมถึงบ่อน้ำขนาดใหญ่ด้วย
กลุ่มประชากรบางกลุ่มถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ได้แก่
  • สัตวแพทย์
  • ผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง
  • การนันทนาการและกีฬาทางน้ำ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นเรือแคนู วินด์เซิร์ฟ สกีน้ำ ไตรกีฬา ฯลฯ

การป้องกันโรคฉี่หนู

การป้องกัน ควรเริ่มจากการให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่ กลุ่มเสี่ยง ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
  1. กำจัดหนู
  2. ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว
  4. หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
  5. หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
  6. หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
  7. รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ ยำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปปรับการกอนอาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม
โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

 


ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร ?

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย


อ้วนใครมีโอกาศเป็นโรคเบาหวาน ?

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี น้อง เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น หากมีทั้งพ่อ และแม่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 50 นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือว่าอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่าๆกันความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานหิวน้ำอาการของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่สองจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้สังเกตุ อาการที่พบได้บ่อยคือ น้ำหนักลด หิวเก่งรับประทานอาหารเก่ง ดื่มน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่1 อาการค่อนข้างจะเฉียบพลันอาการทำนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด และบางท่านอาจจะมาด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่นภาวะเลือดเป็นกรดผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่มีอาการเบาหวานมาก่อน โรคแทรกซ้อนที่นำผู้ป่วยมาได้แก่
แผลที่เท้า
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สมองขาดเลือด
โรคไตเสื่อม


เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการ นอกจากนั้นโรคเบาหวานในระยะที่เริ่มเป็นจะไม่มีอาการ การคัดกรองจะทำให้การวินิจฉัยโรคได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดกรองหมายถึงการคัดเลือกผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานมาเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัย กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย อ้วน มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

เจาะเลือดวิธีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแน่นอนคือการเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาล แต่วิธีการเจาะมีหลายวิธีเจาะตอนเช้าหลังจากอดอาหาร 8 ชั่วโมง หากน้ำตาลมากกว่า 126 มก%จะถือว่าเป็นเบาหวานเจาะแบบซุ่ม หากมากกว่า 200 มก%และมีอาการเบาหวานทดสอบความทนต่อน้ำตาลการเจาะหาค่าน้ำตาลเฉลี่ยและเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

การฉีดอินซูลินชนิดของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ชนิดที่ 2 พบในคนสูงอายุและมีน้ำหนักเกิน ส่วนชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กเป็นพวกขาดอินซูลิน การรักษาโรคเบาหวานทั้งสองชนิดไม่เหมือนกัน โรคแทรกซ้อนก็ต่างกัน การรักษาเบาหวานชนิดที่2จะเน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ส่วนเบาหวานชนิดที่1จะให้อินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน

ชนิดของโรคเบาหวาน

สุขภาพดีหลักการรักษาโรคเบาหวาน
หลักการรักษาโรคเบาหวานจะต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติ และไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งต้องประกอบไปด้วย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การงดบุหรี่ การดูแลสุขภาพทั่วๆไป

การควบคุมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

การใช้ยาเม็ดหรือยาฉีด
การรักษาโรคเบาหวาน
ไขมันการดูแลโรคร่วม
ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นโรคทางmetabolic ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีหลายโรคที่มักจะพบร่วมกันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การดูแลผู้ป่วยเบาที่มีโรคดังกล่าวร่วมด้วยจะมีความแตกต่าง ในเรื่องการเลือกยาที่ใช้รักษา และค่าเป้าหมายที่ต้องการ ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีเป้าหมายค่าความดันโลหิตต่ำกว่าคนทั่วไป และค่าไขมันก็ต่ำกว่าคนทั่วไป โรคที่พบร่วมบ่อยๆได้แก่
ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งหรือตีบ หากหลอดเลือดแข็งหรือตีบที่อวัยวะส่วนไหนก็จะทำให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้น ดังนั้นโรคเบาหวาจะมีโรคแทรกซ้อนทุกระบบ ได้แก่
ระบบประสาท
ตา
ไต
หัวใจและหลอดเลือด
ผิวหนัง
ช่องปาก

โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เจ็บหน้าอกการรักษาโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนั้นยังมีภาวะฉุกเฉินที่มักจะเกิดในผู้ป่วยเบาหวานได้แก่
ภาวะโลหิตเป็นพิษ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดสมอง
ส่วณโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลได้แก่
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจนหมดสติ
ภาวะคีโตซีส Ketoacidosis
การตรวจปัสสาวะเป้าหมายของการรักษาเบาหวาน
โรคเบาหวานส่วนหนึ่งเกิดจากกรมพันธ์ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรม โรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนมักจะปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานจึงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุม
ความดันโลหิต
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงเป้าหมาย
ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
ออกกำลังกาย
ควบคุมระดับน้ำตาล และน้ำตาลเฉลี่ยให้ใกล้เคียงปกติ
การรักษาเบาหวานที่ดีจะต้องมีระดับน้ำตาล และน้ำตาลเฉลี่ยดี ความดันโลหิต ระดับไขมัน น้ำหนัก การออกกำลังจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
การตรวจน้ำตาลการติดตามและประเมินการรักษา
การประเมินการรักษาโรคเบาหวานสามารถทำได้สองแบบคือ ประเมินด้วยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเจาะหาระดับน้ำตาล น้ำตาลเฉลี่ย การตรวจปัสสาวะหาโปรตีน การเจาะเลือดตรวจไขมัน การตรวจร่างกาย การวัดความดันโลหิต การตรวจตา การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องเจาะเลือดด้วยตัวเอง เพื่อการควบคุมโรคเบาหวานให้ดีเพื่อลดโรคแทรกซ้อน


แม้ว่าจะมียารักษาโรคเบาหวาน แต่ผลการรักษายังไม่ดี ประกอบกับจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหานมีมากขึ้น ผูป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานมีจำนวนมากขึ้น และอายุที่เป็นโรคเบาหวานมีอายุน้อยลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาจะต้องทำก่อนการเกิดโรคเบาหวานซึ่งการป้องกันทำได้โดย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
และการใช้ยา
การป้องกันโรคเบาหวาน
การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่างกัน การเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องจะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากยา ยาเบาหวานแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็มีข้อบ่งชี้ในการใช้แตกต่างกัน