วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประมาณความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี แยกตามวิธีการรับเชื้อ

  
ประมาณความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี
แยกตามวิธีการรับเชื้อ
(ข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกา) 
ช่องทางการรับเชื้อประมาณการติดเชื้อ
ต่อ 10,000 การสัมผัส
ต่อแหล่งเชื้อ
การรับเลือด9,000
การคลอดบุตร (ติดต่อไปยังทารก)2,500
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน67
การถูกเข็มตำ30
เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรับ)*50
เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายสอดใส่)*6.5
เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (หญิง)*10
เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ชาย)*5
เพศสัมพันธ์ทางปาก (ฝ่ายรับ)1
เพศสัมพันธ์ทางปาก (ฝ่ายสอดใส่)0.5
* อนุมานว่าไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย
§ หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
กับอวัยวะเพศชาย

ความชุกของ HIV และ AIDS ต่อ 100,000 ประชากรทั่วโลก

ความชุกของ HIV และ AIDS ต่อ 100,000 ประชากรทั่วโลก

   ไม่มีข้อมูล
   ≤ 10
   10-25
   25-50
   50-100 
  100-500
   500-1000
   1000-2500 
  2500-5000
   5000-7500
   7500-10000
   10000-50000
   ≥ 50000
หน่วย(คน)

ความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในแต่ละประเทศ

ความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มคนอายุ 15-49 ปีในแต่ละประเทศ (ข้อมูลสิ้นปี ค.ศ. 2005)

สีเทาหมายถึง ไม่มีข้อมูล
สีเขียว หน่อยสุด
สีแดงเข้ม มากสุด

โรคเอดส์ AIDS

โรคเอดส์ AIDS


เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS)เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและการเกิดเนื้องอกบางชนิด เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งมีเชื้อ เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ ดังกล่าว
ปัจจุบันมีการระบาดของเอดส์ไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณไว้เมื่อ พ.ศ. 2552 ว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อยู่ประมาณ 33.3 ล้านคนทั่วโลก โดยแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 2.6 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ปีละ 1.8 ล้านคน องค์กร UNAIDS ประมาณไว้เมื่อ พ.ศ. 2550 ว่ามีผู้ป่วยเอดส์ในปีดังกล่าว 33.2 ล้านคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 2.1 ล้านคน เป็นเด็ก 330,000 คน และ 76% ของผู้เสียชีวิตเป็นชาวแอฟริกาเขตใต้ทะเลยทรายซาฮารา รายงาน พ.ศ. 2552 ของ UNAIDS ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้ว 60 ล้านคน เสียชีวิตแล้ว 25 ล้านคน เฉพาะในแอฟริกาใต้ที่เดียวมีเด็กทีต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าเพราะบิดามารดาเสียชีวิตจากโรคเอดส์ 14 ล้านคน นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด


การศึกษาวิจัยทางพันธุศาสตร์ชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกากลางตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคเอดส์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ใน ค.ศ. 1981 ส่วนสาเหตุของโรคและเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นค้นพบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980

ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถชะลอการดำเนินโรคได้ แต่ยังไม่มีหนทางรักษาให้หายขาด ไม่มีวัคซีนป้องกัน ยาต้านไวรัสสามารถลดอัตราการตายและภาวะทุพพลภาพได้ดี แต่ยาเหล่านี้ยังมีราคาแพง ผู้ป่วยในบางประเทศยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ องค์กรสุขภาพต่างๆ เล็งเห็นว่าการรักษาเอดส์ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงให้ความสำคัญกับการควบคุมการระบาดของโรคเอดส์ด้วยการรณรงค์การป้องกันการติดเชื้อผ่านการสนับสนุนการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและการแลกเปลี่ยนเข็มที่ใช้แล้ว เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ความหมายของเอดส์

คำว่า เอดส์ มาจากภาษาอังกฤษว่า AIDS ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า acquired immunodeficiency syndrome ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
  • A = acquired หมายถึง เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบทอดทางกรรมพันธุ์
  • I = immuno หมายถึง ระบบภูมิต้านทานหรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • D = deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อม
  • S = syndrome หมายถึง กลุ่มอาการคือมีอาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง
รวมแล้วแปลว่า “กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม” เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสื่อมหรือบกพร่องลง เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการมักจะรุนแรง เรื้อรัง และเสียชีวิตได้ในที่สุด

สาเหตุการติดเชื้อ

เชื้อไวรัสเอชไอวีพบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่ น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม และอาจพบได้ในปริมาณน้อยๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้ หลายวิธีคือ
  • การมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
  • การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูกและน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
  • การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
  • จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะ ได้แก่ เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอด จากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย
  • เพศสัมพันธ์

    การติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันระหว่างคู่นอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี การติดต่อของเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ในโลกเป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศชายและหญิง
    การใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นชนิดสำหรับผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นทางเดียวที่สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และการตั้งครรภ์ได้ หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในปัจจุบันระบุว่าถุงยางอนามัยโดยทั่วไปสามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีทางการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงได้ประมาณ 80% ในระยะยาว โดยประโยชน์ของการใช้ถุงยางอนามัยน่าจะยิ่งมีมากขึ้นหากได้ใช้ถุงยางอนามัยในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
    ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายแบบที่ทำด้วยลาเทกซ์นั้นหากใช้อย่างถูกต้องโดยไม่ใช้สารหล่อลื่นที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมแล้วจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดในการลดการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ผู้ผลิตแนะนำว่าสารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเช่นเจลปิโตรเลียม เนย หรือน้ำมันสัตว์นั้นไม่สามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำจากลาเทกซ์ได้เนื่องจากจะทำให้ลาเทกซ์ละลาย ทำให้ถุงยางอนามัยมีรู หากจำเป็นผู้ผลิตแนะนำว่าควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำจะดีกว่า อย่างไรก็ดีสารหล่อลื่นที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมยังสามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำจากโพลียูรีเทนได้
    การศึกษาแบบ randomized controlled trial หลายอันแสดงให้เห็นว่าการขลิบอวัยวะเพศชายลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์แบบชายหญิงได้สูงสุด 60% จึงน่าเชื่อว่าการขลิบจะได้รับการแนะนำให้ทำกันมากขึ้นในหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลจากเอชไอวี ถึงแม้การแนะนำนั้นจะต้องเจอกับปัญหาประเด็นทางการทำได้จริง วัฒนธรรม และทัศนคติอีกมาก อย่างไรก็ดีโครงการที่กระตุ้นการใช้ถุงยางอนามัยรวมทั้งการแจกฟรีให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยนั้นเชื่อว่ามีความคุ้มค่าในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน sub-Saharan Africa มากกว่าการขลิบถึงประมาณ 95 เท่า
    ผู้เชี่ยวชาญบางคนเกรงว่าความรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมากขึ้นที่ได้รับจากการขลิบอวัยวะเพศอาจทำให้ผู้รับการขลิบมีพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศมากขึ้น ทำให้เป็นการลดผลการป้องกันโรคที่มี อย่างไรก็ดีมีการศึกษาแบบ randomized controlled trial ชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าการขลิบในชายวัยผู้ใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
  • สถานการณ์เอดส์ในประเทศไทย

  • ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า กลุ่มอายุ 30 - 34 ปี มีผู้ป่วยสูงสุด (ร้อยละ 25.86) รองลงมาได้แก่ อายุ 25 - 29 ปี โดยพบว่า กลุ่มอายุต่ำสุด คือ กลุ่มอายุเพียง 10-14 ปี (ร้อยละ 0.29) เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่า อาชีพรับจ้าง เป็นกลุ่มที่เป็นเอดส์มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรรม, ว่างงาน, ค้าขาย และแม่บ้าน
    ส่วนสาเหตุของการติดเชื้อเอดส์นั้น พบว่า ร้อยละ 83.97 ติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ รองลงมา คือ การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น และติดเชื้อจากมารดา อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยที่ไม่ทราบถึงสาเหตุ ถึงร้อยละ 7.30
    ส่วนเชื้อฉวยโอกาส ที่สามารถตรวจพบในผู้ป่วยเอดส์มากที่สุด ได้แก่ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดวัณโรค นั่นเอง

โรคหวัดธรรมดา

 โรคหวัดธรรมดา

                โรคหวัดธรรมดา เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง
                 สาเหตุ
                 เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการรุนแรงกว่าโรคหวัดธรรมดาโดยทั่วไปแล้วเรามักเรียกว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด เป็นโรคที่เป็นกันมาก และไม่เป็นอันตรายมากนัก เป็นมากในฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่เกือบ 200 ชนิด เชื้อโรคนี้ปะปนอยู่ในอากาศถ้าร่างกายอ่อนแอเมื่อใดและได้รับเชื้อโรคนี้เข้าไปก็จะเป็นหวัดได้
                 อาการ
                 ผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เจ็บคอ คอแห้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไอ จาม มีเสมหะผู้ป่วยมีอาการมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรคของร่างกาย และในการป่วยเป็นโรคหวัดในแต่ละคนนั้น อาจมีอาการไม่เหมือนกันและไม่ได้มีอาการทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้ว อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
                 เมื่อป่วยเป็นโรคหวัดควรพักผ่อน และดูแลตนเองตามอาการ เช่น หากเจ็บคอควรงดดื่มน้ำเย็นและให้ดื่มน้ำอุ่นแทน อาจกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเข้มข้นซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญาไทย เมื่อมีไข้สูงต้องเช็ดตัวบริเวณข้อพับเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ดื่มน้ำสะอาดมากๆ กินผลไม้ที่ให้วิตามีนซี เช่น ส้ม สับปะรด ถ้ามีอาการไม่ร้ายแรงอาจหายได้เองโดยไม่ต้องกินยา แต่การกินยาจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ไม่ควรซื้อยาชุดกินเอง ถ้าเป็นยาปฏิชีวนะควรกินให้ครบตามแพทย์สั่ง ถ้ากินไม่ครบจะทำให้เกิดการดื้อยา
                 การป้องกัน
                 โรคหวัดธรรมดาควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้
                 1. ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ จะทำให้มีภูมิต้านทานโรค
                 2. ไม่ควรตากฝน แต่ถ้าตากฝนมาควรทำให้ร่างกายอบอุ่นโดยเร็ว
                 3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย การใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย และอย่าให้ผู้ป่วยไอ จามรดเพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคได้
                 4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือที่มีมลพิษโดยเฉพาะควันบุหรี่ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ
                 5. เมื่ออากาศหนาวเย็นควรสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น

ประเภทของโรค

ประเภทของโรค

โรคติดต่อ คือ โรคที่ติดต่อกันได้ทางตรง และ ทางอ้อมโดยมีเชื้อโรค หรือพิษของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค เช่น

1. โรคหวัดธรรมดา
2. โรคเอดส์
3. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1
4. โรคไข้หวัดนก
5. โรคอุจจาระร่วง
6. โรคชิคุนกุนยา
7. โรคมาลาเรีย
8. วัณโรค
9. โรคไข้หวัดใหญ่
10. โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส ฯลฯ

                โรคไม่ติดต่อ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมของอวัยวะเพศ เช่น

1. โรคมะเร็ง
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. โรคทางพันธุกรรม
เช่น โรคธาลัสซีเมีย  โรคดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
4. โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคฝุ่นหิน และโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฯลฯไข้หวัดใหญ่
3. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1
4. โรคไข้หวัดนก
5. โรคมาลาเรีย
6. โรคชิคุนกุนยา
7. โรคอุจจาระร่วง
8. วัณโรค เป็นต้น เป็นต้น

          

ความหมายของโรค

โรค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ



ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษย์